ในยุคที่โลกเปิดกว้างอย่างเสรี แทบจะทุกประเทศทั่วโลกเริ่มทำการค้า การติดต่อสื่อสาร รวมถึงมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันมากขึ้น อีกหนึ่งธุรกิจมาแรง ณ ปัจจุบันนี้จึงหนีไม่พ้น ‘โรงเรียนสอนภาษา’ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่งเศส เยอรมัน หรือภาษาอื่นๆ ที่ล้วนมีความจำเป็นสำหรับการสื่อสารอย่างมาก
หากในวันนี้คุณมีความสนใจเปิดธุรกิจโรงเรียนสอนภาษา แล้วสงสัยว่าเปิดสอนพิเศษต้องจดทะเบียน หรือทำอะไรบ้าง เรามีขั้นตอนการเปิดโรงเรียนสอนพิเศษมาบอกต่อกัน!
1. จดทะเบียนธุรกิจเปิดโรงเรียนสอนพิเศษ
ขั้นตอนแรกของการเปิดโรงเรียนกวดวิชา เราจะต้องไปจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจกันก่อน โดยเลือกลักษณะธุรกิจว่าเป็นประเภทบุคคลธรรมดา ประเภทนิติบุคคล บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นต้น
สถานที่ยื่นขอจดทะเบียนมีอยู่หลักๆ ดังนี้
- กรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนที่สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 และส่งจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์
- ต่างจังหวัด ยื่นจดทะเบียนที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ที่ห้างหุ้นส่วนบริษัทมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.dbd.go.th/index.php
ค่าธรรมเนียมในการขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนกวดวิชา
จดทะเบียนจัดตั้งแบบห้างหุ้นส่วน
- แบบหุ้นส่วนไม่เกิน 3 คน ราคา 1,000 บาท
- แบบหุ้นส่วนเกิน 3 คน ชำระเพิ่มสำหรับจำนวนที่เกินคนละ 200 บาท
จดทะเบียนจัดตั้งแบบบริษัทจำกัด
- หนังสือบริคณห์สนธิ ราคา 500 – 25,000 บาท
- บริษัทจำกัด ราคา 5,000 – 250,000 บาท
2. การลงทุนเปิดโรงเรียนสอนภาษา
เมื่อจัดการเรื่องจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ต่อมาคือต้องดูแผนธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา นั่นคือค่าใช้จ่ายเริ่มต้นในการลงทุน ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามขนาด โดยทั่วไปแล้วแบ่งออกเป็น
- ค่าตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้สำนักงาน คิดเป็น 74%
- ค่าเครื่องมือ และอุปกรณ์การเรียนการสอน คิดเป็น 4%
- เงินทุนหมุนเวียน ค่าเช่าพื้นที่ คิดเป็น 22%
3. ผลตอนแทน การตั้งราคา และโครงสร้างราคา
การคิดคำนวณอัตราตอบแทนของโรงเรียนสอนภาษา ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ จากการสำรวจพบว่าจะได้รับเงินลงทุนทั้งหมดคืนภายในระยะเวลาประมาณ 4-5 ปี
โดยปัจจัยการตั้งราคาประกอบด้วย ต้นทุน ทำเลที่ตั้ง ชื่อเสียงของโรงเรียนปริมาณผู้เรียน ระยะเวลาการสอนของหลักสูตร ทั้งนี้ต้องไม่ลืมสำรวจราคาโรงเรียนระดับเดียวกันในท้องตลาด และตั้งราคาแบบไม่เกินกว่าที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
นอกจากการจดทะเบียน และปัจจัยการบริหารในข้างต้นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือในยุคนี้คือ ‘การตลาด’ เริ่มตั้งแต่การคัดสรรอาจารย์ผู้สอนที่มีทักษะในการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนสูง การจัดหลักสูตรการสอนใหม่ๆ การเลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสม รวมถึงคิดโปรโมชั่นที่ดึงดูดผู้เรียน ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
4. อุปสรรคและโอกาส
หากมองด้านโอกาสของธุรกิจโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ:
- ชาวต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยมากขึ้น ทำให้มีผู้สนใจเรียนรู้ด้านภาษาเพิ่มมากขึ้น
- หลายบริษัทจ่ายค่าภาษาเพิ่ม หากพนักงานมีทักษะด้านภาษาอื่นๆ
- โลกเปิดการค้าเสรีมากขึ้น คนไทยจำนวนมากต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเพิ่มเพื่อสื่อสารธุรกิจ
- ผู้ปกครองมักสนับสนุนบุตรหลานเรียนภาษาที่สามเพิ่ม เพื่อปูพื้นฐานด้านภาษา
หากมองด้านอุปสรรคของธุรกิจโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ:
- เทคโนโลยีในยุคปัจจุบันทำให้ความจำเป็นในการเรียนกวดวิชาตามสถาบันลดน้อยลง ตัวเลือกของผู้เรียนมีมากขึ้น
- รายได้ที่อาจจะลดลงจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ
- โรงเรียนที่เปิดใหม่หรือโรงเรียนขนาดเล็กเสียเปรียบโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษที่เป็นแฟรนไชส์ในแง่ของมาตรฐานความน่าเชื่อถือ รวมทั้งความรู้เชิงปฏิบัติการในการดำเนินกิจการโรงเรียนสอนภาษาเช่นกัน
อ่านต่อ:
ข้อดี – ข้อเสียของธุรกิจแฟรนไซส์ (Franchise) ที่หลายๆ คนยังไม่เคยรู้!
ติดตาม 5 แนวโน้มการศึกษาโลกในอนาคต อีก 10 ปีข้างหน้า เป็นอย่างไร?
“ธุรกิจกวดวิชา” เดินหน้าต่ออย่างไร ในยุคทองของการเรียนออนไลน์
ส่งท้าย
สุดท้ายนี้การทำธุรกิจเปิดโรงเรียนสอนภาษา หรือเปิดสอนภาษาอังกฤษ ถือว่ายังมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงในยุคนี้ เหตุผลก็เพราะการธุรกิจการศึกษาเป็นธุรกิจที่ไม่มีวันตายได้ง่ายๆ ยิ่งเมื่อโลกเปลี่ยนไปกลายเป็นวิ่งไปข้างหน้าเร็วขึ้น การแข่งขันในสังคมสูง การศึกษาก็ยังเป็นเรื่องที่สำคัญไม่เปลี่ยนแปลง
หากคุณเป็นอีกคนที่อยากทำธุรกิจเปิดโรงเรียนสอนภาษาให้ประสบความสำเร็จ อย่าลืมศึกษาสิ่งที่เรานำมาฝากกันในเบื้องต้นนี้ เพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอย่างมีทิศทาง
สนใจทำธุรกิจกวดวิชาภาษาอังกฤษ
ติดต่อ
admin@efl.ac.th
053-242945
089-9566889