ปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบ TCAS ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งน้องๆ มีโอกาสที่จะสมัครได้หลายรอบ แต่ถ้าเลือกได้ ทุกคนก็คงอยากจะติดตั้งแต่รอบ Portfolio หรือรอบแรกๆ กันทั้งนั้นจริงไหม จะได้ไม่ต้องมานั่งเครียดไปอีกหลายเดือน บทความนี้จึงจะมาแนะนำเทคนิคดีๆ ในการทำพอร์ต พร้อมทุกสิ่งควรรู้ก่อนสมัคร ทั้งคุณสมบัติ เกณฑ์การคัดเลือก และขั้นตอนการยื่นเอกสารไปจนถึงการยืนยันสิทธิ์ ตามไปอ่านกันได้เลย

 

ทำความเข้าใจระบบ TCAS และรอบ Portfolio

 

 

ก่อนเริ่มทำ Portfolio สมัครเรียน มาทำความเข้าใจระบบ TCAS กันสักหน่อย จะได้วางแผนเตรียมตัวได้ถูก เพราะบางคนอาจจะยังสับสนอยู่ว่า สรุปแล้ว TCAS มีกี่รอบ และระบบ TCAS รอบใดที่เป็นรอบยื่น Portfolio  

ระบบ TCAS คืออะไร มีรอบอะไรบ้าง?

TCAS ย่อมาจาก Thai University Central Admission System เป็นระบบที่ใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการนำมาใช้แทนระบบ Admission เดิม เพื่อให้เด็กๆ วางแผนในการสอบได้ดีขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่าย และสร้างความเท่าเทียม เพราะในระบบนี้ทุกคนจะมีสิทธิ์สมัครเท่ากัน 4 รอบ คือ

TCAS รอบ Portfolio คืออะไร?

TCAS รอบ Portfolio คือรอบคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษโดดเด่น โดยให้นำเสนอผลงานผ่าน Portfolio หรือแฟ้มสะสมผลงาน น้องๆ สามารถยื่นกี่มหาวิทยาลัยก็ได้ แต่สุดท้ายแล้วจะยืนยันสิทธิ์ได้เพียงที่เดียวเท่านั้น

ทำไม TCAS รอบ Portfolio ถึงสำคัญสำหรับนักเรียนที่ต้องการเข้ามหาวิทยาลัยในฝัน

เนื่องจาก TCAS รอบ Portfolio เป็นรอบแรกของการคัดเลือก จึงประกาศผลก่อนรอบอื่น ซึ่งก็จะทำให้น้องๆ ที่ติดรอบนี้รู้สึกอุ่นใจว่าเรามีที่เรียนแล้ว แถมยังมีเวลาพักผ่อน เตรียมตัวสำหรับการเรียนมหาวิทยาลัยมากขึ้น นอกจากนี้รอบ Portfolio ยังวัดกันที่ผลงานเป็นหลัก ไม่มีการสอบข้อเขียน หากน้องๆ เตรียมตัวมาดี มีผลงานและคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ โอกาสที่จะได้ก็มีสูงกว่ารอบอื่น หรือในกรณีที่ไม่ผ่านก็ยังสามารถไปสมัครรอบอื่นได้อีก

 

TCAS รอบ Portfolio มีโครงการอะไรบ้าง?

 

 

แต่ละมหาวิทยาลัยอาจตั้งชื่อโครงการต่างกันออกไป แต่โดยรวมแล้วจะสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

  1. โครงการความสามารถทางวิชาการ

คัดเลือกนักเรียนที่มีความโดดเด่นของผลการเรียนในสาขาวิชาต่างๆ เช่น มีความสามารถทางภาษาต่างประเทศและมีผลการทดสอบยืนยัน เคยไปแข่งขันวิชาการ ประกวดโครงงาน เข้าค่ายสอวน. สสวท. โอลิมปิกวิชาการ เป็นต้น

  1. โครงการความสามารถพิเศษ

น้องๆ ที่ไม่เก่งวิชาการก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะมีหลายโครงการที่เปิดรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ เช่น ดนตรี, ศิลปะ, คอมพิวเตอร์, การออกแบบ, การแสดง ฯลฯ ซึ่งเกณฑ์การตัดสินก็จะให้น้ำหนักไปทางผลงานมากกว่าผลการเรียน บางคณะที่เราสนใจอาจมีการกำหนดหัวข้อให้สร้างผลงานใหม่ตามโจทย์ด้วย 

  1. โครงการความสามารถด้านกีฬา

กลุ่มนี้จะเป็นนักเรียนที่มีความสามารถทางกีฬาแบบโดดเด่นมากๆ เช่น เป็นตัวแทนทีมชาติ เคยไปแข่งซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ หรือการแข่งขันระดับประเทศ ระดับนานาชาติ บางที่จะกำหนดด้วยว่าต้องได้อันดับที่เท่าไหร่ขึ้นไป 

  1. โครงการเด็กดีมีคุณธรรมจริยธรรม 

นักเรียนที่สมัครโครงการนี้จะต้องมีผลงานด้านคุณธรรมจริยธรรม เช่น เคยทำจิตอาสา กิจกรรมช่วยเหลือสังคม พัฒนาชุมชน บำเพ็ญประโยชน์ มีความเป็นผู้นำ เป็นแบบอย่างที่ดี อาจจะเคยเป็นประธานนักเรียน ประธานโครงการต่างๆ หรือเคยได้รางวัลด้านคุณธรรมจริยธรรมระดับประเทศ

 

เงื่อนไขและคุณสมบัติที่ต้องรู้ก่อนสมัคร TCAS รอบ Portfolio

 

 

สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนสมัครคือการตรวจเช็กให้ละเอียดว่า TCAS รอบที่ 1 (Portfolio) ใช้คุณสมบัติอะไรบ้าง เพราะถึงจะพอร์ตดี กิจกรรมเด่นแค่ไหน แต่ถ้าคุณสมบัติไม่ผ่านก็ตกรอบเหมือนกัน

ระบบ TCAS รอบยื่นพอร์ต  ใช้คุณสมบัติอะไรบ้าง?

เนื่องจากรอบนี้เป็นการสมัครกับมหาวิทยาลัยโดยตรง คุณสมบัติของผู้สมัครจึงแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขที่แต่ละคณะหรือมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด โดยส่วนใหญ่จะรับผู้ที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า มีเกรดเฉลี่ย GPAX 4 – 5 เทอม 3.00 ขึ้นไปหรือตามที่กำหนด บางโครงการอาจดูเกรดเฉลี่ยรายวิชาด้วย เช่น ผลการเรียนเฉลี่ยในกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษรวม 5 เทอม ต้องไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือต้องมีคะแนนสอบเฉพาะทาง เช่น TOEFL, IELTS, SAT, BMAT หากคุณสมบัติไม่ครบ ไม่แนะนำให้ยื่น เพราะโอกาสถูกปัดตกมีมาก จะเสียทั้งเงินและเวลาที่จะใช้ในการเตรียมตัวรอบอื่น

การคัดเลือกใช้เกณฑ์อะไรบ้าง ? 

เกณฑ์การให้คะแนน หลักๆ จะพิจารณาจากผลงานใน Portfolio นอกเหนือจากนี้ TCAS รอบที่ 1 (Portfolio) ใช้คะแนนอะไรเป็นเกณฑ์พิจารณาการคัดเลือกอีกบ้างก็ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย บางที่อาจจะมีคะแนนในส่วนของเรียงความ หรืออย่างคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมีคะแนนสอบ FORWARD ด้วย และทั้งหมดนี้ก็จะถูกนำไปรวมกับคะแนนในรอบสัมภาษณ์อีกครั้ง

 

เทคนิคการทำ Portfolio ให้โดดเด่น

 

 

แม้ว่าผลการเรียนและความสามารถจะเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณา แต่หากทำ TCAS Portfolio ไม่ดีก็อาจทำให้พลาดโอกาสได้ เพราะกรรมการไม่ได้เจอเราโดยตรง แต่จะทำความรู้จักเราผ่านกระดาษเพียงไม่กี่หน้า และยิ่งมีคนอีกเป็นร้อยเป็นพันที่ยื่น Portfolio พร้อมเรา ก็จะทำให้เกิดข้อเปรียบเทียบได้ง่าย เพราะฉะนั้นจึงต้องทำให้โดดเด่น และสร้างความประทับใจให้ได้มากที่สุด ด้วยเทคนิคง่ายๆ ดังนี้

Portfolio ควรมีอะไรบ้าง?

การทำ TCAS Portfolio รายละเอียดพื้นฐานต้องใส่ให้ครบ เพื่อให้กรรมการรู้จักตัวตนของเรา เช่น ประวัติส่วนตัว ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ ประวัติการศึกษา เรียงความที่บอกถึงเหตุผลหรือแรงบันดาลใจที่ทำให้อยากเข้าเรียน ผลงาน ประสบการณ์ที่เคยทำ รางวัลที่เคยได้รับ 

การจัดวางรูปแบบและเนื้อหา

รูปแบบและเนื้อหาของ Portfolio TCAS ต้องอ่านง่ายสบายตา ใช้ฟอนต์ตัวหนังสือที่อ่านง่าย มีสีและขนาดที่เหมาะสม เขียนเนื้อหาให้ตรงประเด็น ไม่ยืดเยื้อ แบ่งหัวข้อจัดหมวดหมู่ให้ชัดเจน เรียงลำดับกิจกรรมหรือผลงานโดยเอาอันที่โดดเด่นที่สุดไว้ข้างหน้า เช่น เริ่มจากผลงานระดับประเทศ ต่อด้วยระดับจังหวัด ระดับเขต เป็นต้น

จำนวนหน้าของ TCAS Portfolio ที่เหมาะสม

อีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัยคือ การทำ TCAS Portfolio ควรมีเนื้อหาจำนวนกี่หน้า? โดยทั่วไปจะกำหนดให้ไม่เกิน 10 หน้า ทั้งนี้ไม่นับรวมปกหน้า ปกหลัง หรือสารบัญ จึงควรเน้นความสั้น กระชับ แบ่งเป็นประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา และเรียงความอย่างละ 1 หน้า, รางวัลหรือเกียรติบัตรต่างๆ 4 หน้า และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอีก 3 หน้า

การใช้สื่อและการออกแบบให้ Portfolio ดูมืออาชีพ

น้องๆ สามารถออกแบบสร้างสรรค์ Portfolio ได้เต็มที่ แต่อย่าให้ดูรกตาจนเกินไป ที่สำคัญควรจะใส่ภาพประกอบการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงรูปเกียรติบัตร เอาไว้เป็นหลักฐาน และเขียนคำบรรยายใต้ภาพสั้นๆ เช่น เป็นกิจกรรมอะไร ทำหน้าที่อะไร ในกรณีที่ผลงานเป็นภาพเคลื่อนไหว สามารถแนบลิงก์ไว้ให้กรรมการกดเข้าไปดูได้

ข้อผิดพลาดที่ควรหลีกเลี่ยงในการยื่น Portfolio

สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งคือ การใส่ทุกอย่างลงใน Portfolio โดยที่กิจกรรมเหล่านั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับสาขาที่เลือก จะทำให้ Portfolio ดูมีแต่น้ำไม่มีเนื้อ กรรมการก็จะไม่รู้เลยว่าเราถนัดด้านไหน มีทักษะอะไรที่โดดเด่นกว่าคนอื่น เพราะฉะนั้นให้คัดเฉพาะผลงานที่โดดเด่นและเกี่ยวข้องจริงๆ เท่านั้น หากจะยื่นหลายคณะ ควรทำแยกเป็นชุดๆ และอย่าลืมตรวจความถูกต้องก่อนส่งเสมอ 

 

ขั้นตอนการสมัคร TCAS รอบ Portfolio และการยืนยันสิทธิ์

 

 

TCAS รอบที่ 1 (Portfolio) มีรูปแบบการสมัครและการยืนยันสิทธิ์อย่างไร มาดูขั้นตอนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสมัครกันได้เลย

  1. ลงทะเบียนในระบบ TCAS68 

เข้าไปที่เว็บไซต์ https://student.mytcas.com เพื่อลงทะเบียนใช้งาน และติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการรับสมัคร รวมถึงค้นหารายชื่อหลักสูตรและมหาลัยที่เปิดรอบพอร์ตตอนนี้ได้ที่นี่เลย  

  1. สมัครและยื่นพอร์ต

เข้าไปลงทะเบียนและสมัครในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ต้องการ เช่น https://www.tuadmissions.in.th ของธรรมศาสตร์, https://tcas.atc.chula.ac.th/ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ https://admission.ku.ac.th/ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมอัปโหลดเอกสารที่ใช้ในการสมัคร, Portfolio และชำระเงินค่าสมัคร ขั้นตอนนี้แนะนำให้อ่านรายละเอียดดีๆ เพราะหากเอกสารไม่ครบ จะถูกตัดสิทธิ์ทันที 

  1. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์

เมื่อกรรมการพิจารณาเสร็จแล้ว จะประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย หากมีรายชื่อก็ไปสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัยตามวันที่กำหนดแล้วรอประกาศผลรอบสุดท้ายได้เลย

  1. ยืนยันสิทธิ์

ผู้ที่ผ่านรอบสัมภาษณ์จะต้องยืนยันสิทธิ์ผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยและ https://student.mytcas.com เมื่อยืนยันเรียบร้อยถือว่าจบกระบวนการ ไม่สามารถสมัครรอบอื่นได้อีก แต่ถ้าไม่ยืนยันจะถือเป็นการสละสิทธิ์มหาลัยรอบพอร์ตไปโดยปริยาย ในกรณีที่ยืนยันแล้วเปลี่ยนใจทีหลัง สามารถกดสละสิทธิ์ได้ภายในช่วงเวลาที่กำหนดเพื่อใช้สิทธิ์สมัครในรอบต่อไป แต่ทุกคนจะสละสิทธิ์ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้นตลอดการคัดเลือก

 

รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดรับรอบ Portfolio

 

ในแต่ละปีมีหลายคณะหลายมหาลัยที่เปิดรับรอบ Portfolio และบางที่ยังเปิดถึง 2 รอบด้วย ใครเล็งคณะไหนเอาไว้ไปเช็กกันได้เลย เช่น

 

 

ปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบ TCAS ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งน้องๆ มีโอกาสที่จะสมัครได้หลายรอบ แต่ถ้าเลือกได้ ทุกคนก็คงอยากจะติดตั้งแต่รอบ Portfolio หรือรอบแรกๆ กันทั้งนั้นจริงไหม จะได้ไม่ต้องมานั่งเครียดไปอีกหลายเดือน จึงต้องบอกว่าการสมัคร TCAS รอบ Portfolio หากเตรียมตัวดีก็มีชัยไปกว่าครึ่งจริงๆ เพราะการสะสมผลงานต้องใช้เวลา ถ้าน้องๆ อยากเพิ่มโอกาสให้ตัวเองยื่นสมัครรอบนี้ได้ ก็อย่าลืมทำกิจกรรมเอาไว้เยอะๆ อาจจะไม่ต้องเป็นกิจกรรมใหญ่โต ได้ผลงานระดับประเทศเสมอไป เป็นกิจกรรมในโรงเรียน เข้าค่าย เวิร์กชอป ฯลฯ ก็ได้ แต่หากโครงการไหนต้องใช้คะแนนสอบด้วย EFL Thailand ก็มีคอร์สติวเข้มเตรียมความพร้อมสอบวัดระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษ เช่น IELTS, TOEIC, TOEFL ตลอดจนการ SAT และ MCAT สำหรับสายวิทย์การแพทย์ ที่จะช่วยให้น้องๆ ได้คะแนนถึงเกณฑ์และนำไปใช้ยื่นได้รอบ Portfolio ได้แบบชิลๆ 

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา ทาง EFL Learning Centre ก็ได้จัดเวิร์กชอป “How to Be Doctor + IELTS Tips: เตรียมตัวอย่างไรให้ได้แพทย์ INTER” ณ ห้อง London – Manchester โรงเรียน EFL Learning Centre ภายในงานมีการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคการเตรียมตัวสำหรับน้อง ๆ ที่มีเป้าหมายสอบเข้าแพทย์อินเตอร์ ครอบคลุมทั้งการวางแผนเส้นทางสอบ เทคนิคการทำพอร์ตอย่างมืออาชีพ และการเตรียมสอบ IELTS ให้ได้คะแนนสูง พร้อมแบ่งปันเคล็ดลับสำคัญที่ช่วยให้พิชิตเป้าหมายได้เร็วขึ้น กิจกรรมนี้ไม่เพียงให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเส้นทางการศึกษาต่อ แต่ยังมอบแรงบันดาลใจและแนวคิดสำคัญในการวางแผนอนาคตอย่างเป็นระบบอีกด้วย EFL Thailand พร้อมเป็นเพื่อนร่วมทาง ที่จะช่วยให้น้อง ๆ ก้าวไปถึงคณะและมหาวิทยาลัยในฝันได้สำเร็จ

 

 

 

    

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Skip to content