“การเล่น”
ของเด็กในแต่ละช่วงวัย

วันนี้เราจะว่ากันด้วยเรื่อง “การเล่น” ของเด็กๆ โดยเฉพาะเลยนะคะ เคยไหมคะที่คุณพ่อคุณแม่ พยายามอย่างยิ่งที่อยากจะให้ลูกมีเพื่อน เล่นกับเพื่อน แล้วพอพาเด็กน้อยมาเจอกัน กลับกลายเป้นว่า เด็กร้องไห้งอแง แย่งของกัน ตีกัน สุดท้ายคนที่ต้องกลุ้มใจคือ คุณพ่อคุณแม่ เรื่องนี้มีทางออกค่ะ

ก่อนอื่น ต้องมาทำความเข้าใจเรื่อง “การเล่น” ของเด็กในแต่ละช่วงวัยก่อนค่ะ

ขั้นแรกนี้น้องจะยังไม่เล่นเองค่ะ ยังไม่รู้จะเล่นอย่างไร แต่จะสังเกตการเล่นของคนอื่นก่อน (Onlooker Behaviour ) หลังจากนั้นจึงจะเริ่มมาลองเล่นเองเป็นช่วงของ "การเล่นตามลำพัง" เด็กจะเล่นของเล่นเงียบๆคนเดียว ถึงแม้ว่าในห้องจะมีเด็กคนอื่นอยู่ด้วยกันแต่เด็กจะสนใจอยู่กับของเล่นของตัวเองคนเดียว เด็กจะสนใจสิ่งของบางอย่าง นั่งเล่นคนเดียวเป็นเวลานาน พ่อแม่บางคนอาจกลัวลูกเบื่อ อยากให้ลูกเล่นหลากหลาย พ่อแม่จึงพาลูกไปเข้าคอร์สเรียนเล่นต่างๆ เพื่อฝึกทักษะการเข้าสังคมกับเพื่อน เพื่อให้ลูกมีเพื่อน เพื่อให้ลูกสนุก ไม่เหงา ซึ่งช่วงนี้เด็กๆจะเรียนรู้จากการสังเกตและซึมซับไปทีละเล็กละน้อยผ่านพ่อแม่มากที่สุด แท้จริง พัฒนาการทางสมองของเด็กวัยนี้ เป็นไปตามธรรมชาติ ที่ยังไม่ต้องการทำความรู้จักใคร เด็กมีความคิดว่า ตนเองและแม่คือคนเดียวกัน เด็กยังไม่แยกตัวตนออกจากแม่ เด็กต้องการสงบอยู่กับตนเอง และสิ่งสำคัญ คือ การได้มีความสัมพันธ์กับพ่อแม่ หากช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่สื่อสารกันเอง เล่นกับลูกเป็นภาษาอังกฤษ หรือ กี่ภาษาก็ตาม ลูกจะเรียนรู้การเล่นและซึมซับภาษาผ่านคุณพ่อคุณแม่ในเวลาเดียวกัน ของเล่นและการดูแลจากครอบครัวเป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ดีที่สุดในช่วงวัยนี้ หากคุณแม่กลัวลูกเหงา กลัวลูกเบื่อ อยากพัฒนาทักษะลูกในด้านต่างๆ อยากให้ลูกเก่ง อยากให้ลูกทันคนอื่น สิ่งที่ต้องทำ คือ เอาตัวลงมา "เล่นกับลูก" และสื่อสารกับลูกทั้งทางตรงและทางอ้อม เด็กๆจะสังเกตและซึมซับทุกอย่างดีมากในช่วงนี้ โดยเฉพาะสำเนียงของทุกภาษาค่ะ

การเล่นในช่วงนี้ เป็นการเล่นแบบ "คู่ขนาน" อาจมีเด็กหลายคนอยู่ในห้องเดียวกัน นั่งเล่นด้วยกัน แต่ไม่สนใจกัน แต่ยังสนใจการเล่นของตนเอง คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องพยายามผลักดันให้เด็กไปเล่นกับเพื่อนในขณะที่ยังไม่พร้อม วัยนี้หากเด็กพร้อม อาจมีความพร้อมไม่เท่ากัน พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลและไม่จำเป็นต้องสร้างความหงุดหงิดให้กับลูกโดยไม่จำเป็น การที่พ่อแม่ทำกิจกรรมใดๆ แบบธรรมชาติเป็นกิจวัตร การใช้ภาษาไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย อังกฤษ จีน ระหว่างวัน หรือ พาลูกไปเข้าคอร์สทำกิจกรรมต่างๆ โดยมีมุมให้ลูกเล่นไปในขณะที่คุณพ่อคุณแม่ทำกิจกรรมไป เด็กๆสามารถเกิดการเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติไปได้จากมุมการเล่นแบบคู่ขนานของตนเอง

วัยนี้เด็กจะเริ่มสนใจการเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มได้ เด็กจะสนใจที่จะเล่นของเล่นคล้ายๆกัน ช่วยหยิบจับของส่งให้กัน เด็กจะสนใจทำกิจกรรมคล้ายๆกัน ร่วมกัน บางครั้งเป็นลักษณะของการเล่นเลียนแบบกัน เช่น เมื่อเห็นเด็กคนหนึ่งส่งเสียงหรือเต้น ก็จะส่งเสียงหรือเต้นตามด้วย ช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่เด็กเริ่มเปิดตัวเองออกสู่ภายนอก เริ่มสนใจเด็กวัยใกล้กัน เป็นช่วงวัยที่เริ่มเปิดประตูเข้าสู่การเข้าสังคม เด็กวัยนี้เริ่มฝึกเรียนรู้การให้ การรับ การรอ การทำตามคำบอกอย่างง่ายด้วยความช่วยเหลือของผู้ใหญ่ เด็กแต่ละคนมีกลุ่มอารมณ์ที่ต่างกัน มาจาการดูแลจากครอบครัวที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น เด็กกลุ่มที่ช้าในการปรับตัว (Slow to warm up) ผู้ใหญ่ต้องใช้การสังเกต ความเข้าใจ ให้เด็กรู้สึกปลอดภัย คลายกังวล และค่อยๆเรียนรู้ทีละเล็กทีละน้อย หากเด็กๆในวัยนี้ยังไม่เล่นกับเพื่อน อาจทำให้พ่อแม่เป็นกังวล ที่เห็นเด็กคนอื่นๆเล่นกับเพื่อนได้ แต่มีลูกเราที่ไม่เล่นกับเพื่อน ไม่จำเป็นต้องผลักดันให้ลูกไปเล่นกับเพื่อนทั้งที่ลูกยังไม่พร้อม สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ คือ การพยายามที่จะยังคง Support ลูกตาม Stage 2 ไปก่อน ยังต้องให้เวลา และให้โอกาสกับเด็กในการค่อยๆปรับตัว เรียนรู้สิ่งใหม่ๆด้วยตัวเขาเอง การสื่อสารกับลูกโดยใช้ภาษาต่างๆที่เหมาะสมจะเป็นรากฐานสำคัญ จนเมื่อถึงเวลาที่ลูกพร้อมก็จะปรับตัวเข้าหาเพื่อนได้ตามธรรมชาติ สำหรับน้องๆที่อยู่ใน Stage 1-3 คอร์สเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมยังต้องเป็นคอร์สที่เรียนรู้ผ่านคุณพ่อคุณแม่อยู่นะคะ ยังไม่เหมาะกับการปล่อยน้องให้เรียนรู้ด้วยตนเองค่ะ (more info: Magic English for Babies)

โดยธรรมชาติเด็กๆจะเริ่มสนใจการเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่ม เริ่มจากกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 2-5 คน และ เด็กๆจะสามารถสนใจการเล่นกับเพื่อนๆ ได้โดยไม่ต้องมีคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้น Cooperative Play จึงบ่งบอกถึงลักษณะการเล่นที่ต้องเล่นด้วยกัน มากขึ้น ลูกๆในวัยนี้นั่งเล่นด้วยกันได้ อาจจะเล่นอยู่ในเกมเดียวกัน หรือ คนละเกมเดียวกันก็ได้ เช่น คนหนึ่งเล่นขายของ อีกคนก็วิ่งไปหยิบทรายมาทำขนม หรือ อาจจะเล่นขายของด้วยกันก็ได้ ลูกๆจะเล่นด้วยกันแต่จะมีจิตนาการของตัวเอง การพาลูกไปเข้าคอร์สต่างๆ ควรเป็นกิจกรรมที่เรียนรู้ผ่านการเล่นที่หลากหลาย ถึงแม้เด็กๆจะทำกิจกรรมเดียวกันอยู่ แต่เด็กๆจะมีจินตนาการและเรียนรู้ในลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในกิจกรรมหนึ่งๆที่เด็กๆกำลังทำร่วมกันอยู่ บางครั้งลูกเราอาจจะนั่งเล่นของบางอย่างแล้วคุยกับเพื่อน ในขณะที่เด็กคนอื่นอาจจะวิ่งไปวิ่งมา เต้นกระโดด หัวเราะ หรือ พยายามพูดคุยกับผู้ใหญ่รอบตัว ขึ้นอยู่กับจินตนาการที่เด็กๆกำลังมีในขณะที่กำลังเกิดการเรียนรู้หนึ่งๆอยู่ คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตอย่างเข้าใจว่าเมื่อลูกไปโรงเรียน หรือ เข้าคอร์สทำกิจกรรมอยู่ ลูกคนอื่นและลูกเราไม่จำเป็นต้องตอบสนองกับคุณครูในลักษณะเดียวกัน บางครั้งอาจดูเหมือนลูกเราไม่สนใจ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเขาหยุดการเรียนรู้เลยแม้แต่วินาทีเดียว วิธีช่วยให้ลูกพัฒนาภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาต่างประเทศใดๆ ณ วัยนี้ จึงเป็นวัยที่น้อง ๆ จะเรียนรู้ผ่านการเล่นเป็นสำคัญ การเล่นคือกลไกแห่งการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้แบบส่วนร่วม และ เรียนรู้ในแบบของตัวเอง อย่างดีที่สุด การจัดการเล่นให้เหมาะสม โดยเด็กๆก็จะมีการตอบสนองโดยธรรมชาติ มีทั้งที่น่ารัก และ ไม่น่ารัก ก็จะเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่จะใช้พื้นที่การเล่นนี้สอนให้เด็กๆรู้จักการแบ่งปัน การช่วยเหลือ อะไรที่เราอยากปลูกฝังสามารถใส่ได้ในช่วงเวลานี้ และอะไรที่ไม่ดีก็ต้องทำให้เด็กๆรู้ว่ามันไม่โอเค ดังนั้น พื้นที่การเล่น คือ พื้นที่ให้การปรับรูปร่างพฤติกรรมของเด็กน้อยให้เข้าที่เข้าทาง

ความรักของพ่อแม่ที่ต้องการให้ลูกมีความสุข มีพัฒนาการที่ดี ต้องตั้งอยู่บนความรู้ที่ถูกต้อง การมีความรู้เป็นเรื่องสำคัญ แต่การฝึก"ทักษะ" การเลี้ยงลูก เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน การเลี้ยงลูกเป็นศาสตร์และศิลป์ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แต่จำเป็นต้องตั้งอยู่บน "หลักการ" เมื่อเราเข้าใจเด็ก ไม่ว่าเลี้ยงอย่างไรก็ไม่มีปัญหาให้ต้องแก้ หน้าที่เราพ่อแม่ คือ สร้างเด็กให้เต็มศักยภาพตามสิ่งที่เขาเป็น มิใช่การสร้างเด็กให้เป็นในสิ่งที่เราต้องการให้เป็น

เล่นยังไงให้ลูกเก่งอังกฤษ! (Good English Playground?)

คุณครูบิ๊ก-พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ ผู้เขียนหนังสือ เด็กสองภาษาพ่อแม่สร้างได้ ได้แนะให้แต่ละบ้านหาจุดลงตัวกับการใส่ภาษาต่างประเทศในบ้านของตัวเอง เช่น หากเราต้องการให้บ้านเราใช้ภาษาอังกฤษ และ ไทย เราก็ต้องหาว่าจะใช้ระบบไหนถึงจะลงตัวสุด เช่น พ่อ speak English แม่พูดไทย หรือ ทั้งพ่อและแม่พูดทั้งสองภาษา ก็เลือกที่สบายใจ ก็จัดลำดับให้ได้ แต่หากบ้านไหนที่พ่อหรือแม่อาจรู้สึกไม่มั่นใจเท่าที่ควร ก็สามารถจัดการเสริมพัฒนาการเรียนรู้ได้ดังนี้

1. จัดเวลาสำหรับเป็น
English Playground

เช่น สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง ที่การเล่นต่างๆ การจัดกิจกรรมการเล่น เป็นภาษาอังกฤษ โดยสามารถใช้สื่อการเล่นที่เหมาะกับอายุของลูกมาประกอบกับการเล่น การใช้ภาษาอังกฤษไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่เอง หรือ หาครู หรือ หาพี่เลี้ยง ที่มีสำเนียงที่เหมาะสมและเข้าใจการจัด Playground ที่เหมาะสม จะทำให้น้องๆได้ซึมซับกับคลื่นเสียง สำเนียง อย่างเป็นธรรมชาติ ดังนั้น การปั้นลูกให้มีสำเนียงเป๊ะ ก็สามารถทำได้ด้วยวิธีนี้ การจัดกิจกรรมเช่นนี้ ควรมีความถี่ที่สม่ำเสมอ และ จัดแบบการเล่นที่เข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้ผ่านการเล่นของเด็กๆในแต่ละวัย

การจัด English Playground สามารถจัดได้ทั้งแบบส่วนตัว สำหรับบ้านที่ทำ Homeschool มีลูกคนเดียว หรือ จัดได้ทั้งแบบเป็นกลุ่มเล็ก และ กลุ่มขนาดกลาง (2-8 คน) สำหรับ กลุ่มที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จะต้องมีการเพิ่มความถี่ให้สูงขึ้น

2. Native Speakers

ยังจำเป็นสำหรับ การสร้างสิ่งแวดล้อมในสนามเด็กเล่นแบบ English Playground ของเรา ซึ่งการที่เด็กๆมีปฏิสัมพันธ์กับคุณครูเจ้าของภาษา 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ก็ถือว่าเป็นการกระตุ้นพัฒนาการที่ทำให้เกิดเส้นพัฒนาทางภาษาได้อย่างดี การสร้างปฏิสัมพันธ์ผ่านการเล่นจะเป็นกระบวนการนำไปสู่การสร้างความเข้าใจในมิติต่างๆอย่างละมุนที่สุด การใส่ความมั่นใจ ผ่านความคุ้นเคย หากต้องการใส่ภาษาจีนก็ทำเป็น Chinese Playground เป็นต้นนะคะ

สิ่งที่สำคัญที่สุดอยู่ที่คุณพ่อคุณแม่ระมัดระวังในการออกเสียง (Pronunciation) ที่ถูกต้องไม่ว่าจะเป็น British หรือ American หรือ Australian accent ก็ไม่มีปัญหา แต่ที่สำคัญคือออกเสียง Phonics ให้ถูกต้องเป็นพอ เพราะทักษะแรกของการเรียนรู้ของลูกน้อยคือทักษะการฟัง (Listening skill) คอร์ส English Playground ที่จัดอย่างเหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างให้ระบบประสาทและสมองที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของเด็กๆ สามารถเชื่อมโยงกับจินตนาการและบุคลิกภาพของน้องๆได้สมวัยผ่านการเล่นเป็นภาษาอังกฤษอย่างมีคุณภาพ ดังนี้

หมวดคำศัพท์ในหมวดนี้จะมีความ Advanced ได้นะคะ เพราะเป็นการเล่นค่ะ

  • คำกิริยาที่ต้องใช้ในการเล่นร่วมกัน
  • คำที่บอกอารมณ์ความรู้สึก
  • คำศัพท์สามารถหวือหวาได้
  • มีคำตลกๆ ที่สามารถใช้ได้ให้เกิดความสนุกสนาน

หมวดคำถาม-คำตอบ

หมวดคำร้องขอ ขอบคุณ ขอโทษ บอกให้ทำ ที่น่ารักและจริงใจ

หมวดคำ Slang ที่ใช้มากในการเล่นและหยอกล้อ

หมวด Characters ชื่อดังที่กำลังเป็นที่นิยม

Course : English Playground

ประโยชน์ที่ได้รับ:

ให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็ก

ลูกใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาติ

เด็กๆมีความมั่นใจ คุ้นเคย สบายๆ และ ไม่เคอะเขินในการใช้ภาษากับชาวต่างชาติ

ทักษะการฟังพูด สำเนียง มาพร้อมกับการพัฒนาการเข้าสังคมกับเพื่อนๆ

  • หมวดคำศัพท์ในหมวดนี้จะมีความ Advanced ได้นะคะ เพราะเป็นการเล่นค่ะ
    • คำกิริยาที่ต้องใช้ในการเล่นร่วมกัน
    • คำที่บอกอารมณ์ความรู้สึก
    • คำศัพท์สามารถหวือหวาได้
    • มีคำตลกๆ ที่สามารถใช้ได้ให้เกิดความสนุกสนาน
  • หมวดคำถาม-คำตอบ
  • หมวดคำร้องขอ ขอบคุณ ขอโทษ บอกให้ทำ ที่น่ารักและจริงใจ
  • หมวดคำ Slang ที่ใช้มากในการเล่นและหยอกล้อ
  • หมวด Characters ชื่อดังที่กำลังเป็นที่นิยม

คุณพ่อคุณแม่สามารถ Design Your English Playground ได้ในแบบฉบับของตัวเองนะคะ

    • เลือกสำเนียงของ Teacher ได้ค่ะ
    • เลือกตารางเรียนที่สะดวกได้ที่นี่ค่ะ (เรากำหนดตารางไว้ แล้วให้ลูกค้าเลือกที่มี)
    • นัดหมาย เพื่อทดลองเรียนฟรี ได้ทันทีค่ะ
    • อยากรู้ระดับภาษาของตัวเอง คลิ้กตรงนี้เลยนะคะ (ทำเสร็จทราบผลทันที)
    • คลิ้กลงทะเบียนจองเรียนได้เลยค่ะ

“ต้องการสอบถามเพิ่มเติมติดต่อแป้งได้นะคะ”

Pang

Course Consultant

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Skip to content