การเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา ประเทศสหราชอาณาจักร ประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์ นอกจากจะต้องมีผล IELTS หรือ TOFEL แล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องส่งให้ทางมหาวิทยาลัยก็คือ SOP หรือ Statement of Purpose นั่นเอง วันนี้ EFL Learning Centre จึงนำเกร็ดความรู้ วิธีการเขียน SOP และเทคนิคต่างๆ มาฝากกันอย่างจุใจ

Statement of Purpose หรือ SOP คืออะไร?

Statement of Purpose หรือ SOP คือการเขียนเรียงความเพื่อแนะนำตัว และแสดงให้ทางมหาวิทยาลัยเห็นถึงเป้าหมายและเหตุผลในการเรียนต่อของเรา ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากๆ สำหรับการพิจารณารับนักศึกษาเข้าเรียนต่อในต่างประเทศ

ใน Statement of Purpose ควรมีอะไรบ้าง (What to Include)

กฎในการเขียน Statement of Purpose นั้นอาจไม่มีอะไรตายตัวซะทีเดียว เพราะการเขียน SOP นั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่แต่ละคนต้องการจะสื่อสารด้วย แต่โดยทั่วไปแล้ว สิ่งที่ควรมีในเนื้อหา ได้แก่

  • มีการแนะนำตัวเองและเรื่องราวของเราอย่างน่าสนใจ
  • แสดงให้เห็นถึงความสนใจและความมุ่งมั่นในการศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เราเลือก
  • เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของพื้นเพการเรียนสมัย Undergraduate และ/หรือประสบการณ์ในการทำงาน ว่าเกี่ยวข้อง และมีผลอยากทำให้ศึกษาต่อในสาขานี้อย่างไร
  • อธิบายถึงกิจกรรมต่างๆ ที่นอกเหนือจากการเรียน หรืองานอาสาสมัครที่เคยทำ เล่าว่ากิจกรรมเหล่านั้นส่งเสริม หรือเกี่ยวข้องกับการศึกษาต่ออย่างไร
  • เล่าถึงงานวิจัย หรือบทความที่เคยถูกตีพิมพ์ (ถ้ามีและเกี่ยวข้อง)
  • อธิบายว่าทำไมเราถึงเลือกมหาวิทยาลัยนั้นๆ เราชอบหรือเราเหมาะกับมหาวิทยาลัยหรือสาขาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยอย่างไร ทำไมมหาวิทยาลัยนั้นจะต้องรับเราเข้าศึกษาต่อ
  • เหตุผลที่ทำให้สนใจในการศึกษาต่อที่ประเทศปลายทางนั้นๆ
  • ประกาศนียบัตร ใบรับรอง หรือความสามารถความชำนาญที่เกี่ยวข้องกับสาขาการศึกษาต่อ (ถ้ามี)

วิธีการเขียน Statement of Purpose หรือ SOP (Writing the Statement of Purpose)

จะเขียนอะไรให้ออกมาดี ต้องมีการวางแผนเค้าโครงก่อนเสมอ Statement of Purpose ก็เช่นกัน โดยเราจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้

1. คำนำ (Introduction)

ส่วนนี้คือส่วนเปิดตัว ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ต้องทำให้ผู้อ่านรู้สึกถูกดึงดูดใจให้อยากอ่านต่อ อาจเริ่มด้วยประโยคที่ดึงดูด หรือจะ keep it simple เป็นการแนะนำตัวคร่าวๆ ก็ได้

2. ส่วนเนื้อหา (Body)

Part 1: แนะนำให้รู้จักตัวตน ความสนใจ และแรงบันดาลใจในการเรียนต่อ 

การเล่าเรื่องตัวเอง และเล่าถึงเหตุผลว่าทำไม อะไรดลใจให้เราอยากเรียนต่อ ในส่วนนี้อาจจะไม่ต้องใช้เวลา หรือให้น้ำหนักมากเกินไป

Part 2: สรุปเกี่ยวกับการเรียนปริญญาตรี และประสบการณ์งานที่เคยทำหลังเรียนจบ

a) เขียนเล่าเกี่ยวกับงานวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าที่เคยทำว่าเราทำอะไร กับใคร และผลเป็นอย่างไร

b) เขียนเล่าเกี่ยวบทความ หรือเปเปอร์ที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับสิ่งที่อยากเรียนในระดับปริญญาโท 

c) เขียนเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงาน นอกเหนือจากเล่าให้ฟังว่ามีหน้าที่รับผิดชอบอย่างไรแล้ว ให้เล่าถึง achievement ต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้น หรือเล่าให้เห็นว่าเราสนุกกับการทำงานแค่ไหน 

Part 3: เชื่อมโยงว่าสิ่งที่เรียนในระดับปริญญาตรี งานที่เราทำในพาร์ทก่อนหน้า เกี่ยวข้องอย่างไรกับสาขาที่เราอยากเรียน

ถ้าหากว่าเรียนจบแล้ว และมีประสบการณ์การทำงาน ควรแจกแจงถึงสิ่งที่เรียนรู้จากการทำงาน และเหตุผลว่าทำไมประสบการณ์ที่ได้จากงานถึงจะช่วยให้เราสามารถไปได้ดีในการเรียนโท รวมทั้งอาจนำความรู้ไปใช้ต่ออย่างไรได้บ้างในอนาคต

Part 4: อธิบายโดยลงรายละเอียดถึงสาขาวิชาที่เราต้องการศึกษาต่อ

จุดนี้จะเป็นจุดที่เล่าถึงสาขาที่เราอยากเรียนต่อ โดนลงลึกในดีเทลมากพอที่จะโน้มน้าวใจกรรมการว่าเรานั้นมีความเข้าใจขอบเขตของสาขาวิชา รวมทั้งเข้าใจหลักสูตร แบบคนที่ทำการบ้านมาอย่างดี

a) แสดงให้เห็นแบบเจาะจงว่าเราสนใจเรื่องอะไรในสาขาที่เราจะเรียน มีคำถาม ปัญหา หรือ topic ไหนที่เราอยากเรียนรู้เข้าใจ และต่อยอดบูรณาการความรู้ อาจยกประเด็นที่น่าสนใจจากรีเสิร์ชใหม่ๆ ในสาขานั้นขึ้นมาพูด จุดนี้จะเป็นจุดที่แสดงให้เห็นว่าเรามี passion กับสิ่งที่เราอยากเรียนแค่ไหน

b) ก่อนเขียนต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับอาจารย์ที่อยู่ในคณะและสาขาวิชานั้นๆ ว่าใครสอนอะไร และทำรีเสิร์ชอะไรกันบ้าง บางมหาวิทยาลัยอาจ require ให้เราเอ่ยชื่อของอาจารย์ที่เรา อยากจะทำงานวิจัยด้วย 

3. บทสรุป (Conclusion)

ควรสรุปด้วยความกระตือรือร้นและแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการเรียนต่อ และความพร้อมในการเผชิญปัญหาที่อาจเจอในการเรียนต่อ

ทิปส์ดีๆ ในการเขียน SOP ที่ต้องจำให้ขึ้นใจ

1. แสดงให้เห็นถึงตัวตนของเราในด้านบวก รวมทั้งแสดงความกระตือรือร้น ความรู้ความสามารถ วุฒิภาวะว่าเราเหมาะที่จะเรียนต่อโท ให้เห็นว่าเราเองเชื่อมั่นว่าตัวเองจะทำได้

2. โทนของการเขียนควรดูกระตือรือร้น ใช้ Active voice เลี่ยงการใช้ Passive voice 

3. ต้องเล่าเรื่องให้เห็นภาพ ไม่ใช่แค่บอกเล่าเฉยๆ แต่ต้องทำให้อ่านแล้วคล้อยตามได้จริง

4. สามารถใส่เรื่องราวส่วนตัวที่น่าใจเข้าไปได้ แต่ต้องเป็นเรื่องราวที่มีความหมาย แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของเรา หรือที่มาของแรงบันดาลใจของเรา

5. ให้แน่ใจว่าเนื้อหาใน SOP มีความเชื่อมโยง มีที่มาที่ไป และมีเหตุมีผล มีโฟกัส ไม่สะเปะสะปะกระจัดกระจาย

6. พยายามเขียนให้กระชับ ตรงประเด็น ใช้คำที่ง่ายและเห็นภาพชัดเจน ความยาวที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 1000 คำ นอกเหนือซะจากว่าทางคณะจะให้โจทย์มาว่าให้เขียนมากกว่าหรือน้อยกว่านั้น

เอาหล่ะ! จบกันไปแล้วอย่างจุใจกับวิธีเขียน Statement of Purpose หรือ SOP ให้เข้าตากรรมการ อย่าลืมลองเอาไปปรับใช้กันนะคะ! 

ท้ายสุดนี้ อย่าลืมลองแวะดู EFL Learning Centre มีคอร์สสอนภาษาอังกฤษให้เลือกหลากหลายสำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย

Copyright © EFL Learning Centre 2005 – 2024 All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Skip to content