สายงานต่างๆ ในด้านการแพทย์นั้นเป็นสายงานที่ทั้งเรียนและทำงานค่อนข้างหนัก อีกทั้งยังเป็นสายงานที่ต้องการบุคลากรจำนวนมากอยู่เสมอ โดยเฉพาะในประเทศไทยเองที่ก็ประสบกับปัญหาขาดบุลลากรเช่นเดียวกัน และได้มีการหารือและตั้งเป้าที่จะเพิ่มอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร 1:1,200 คน ภายในปี 2576 

แต่แม้ว่าจะต้องเรียนหนักหรือทำงานหนัก เด็กรุ่นใหม่จำนวนมากก็ตั้งเป้าหมายมาดมั่นที่จะเข้าเรียนในสายนี้ และถ้าน้องๆ เป็นหนึ่งคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่อยากจะเรียนหมอแล้วก็ล่ะ คงเคยได้ยินคำว่าสอบ กสพท. กันดี แต่จะไม่ทำความรู้จักกับการสอบ BMAT ไม่ได้นะคะ เพราะ “ข้อสอบ BMAT” เป็น Admission Test อีกแบบหนึ่งที่ใช้ยื่นคะแนนเพื่อเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์, สัตวแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ได้

BMAT คืออะไร?

BMAT ย่อมาจากภาษาอังกฤษเต็มที่ชื่อว่า The BioMedical Admissions Test (BMAT) ซึ่งก็คือ Admissions Test หรือ ข้อสอบเฉพาะทางเพื่อเข้าศึกษาต่อในคณะแพทย์ศาสตร์ สัตวแพทย์ศาสตร์ ทันตแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้วแต่ว่ามหาวิทยาลัยใดเปิดรับในคณะใดบ้าง การสอบ BMAT เพื่อนำคะแนนไปยื่นเพื่อเข้าศึกษาต่อนี้นับเป็นโอกาสอีกช่องทางหนึ่ง สำหรับใครที่อยากเข้าคณะแพทย์ โดยไม่ต้องผ่านการสอบ กสพท. 

ข้อสอบ BMAT เป็นข้อสอบที่ใช้เวลาสอบสองชั่วโมง การจัดสอบจัดทำโดย Cambridge Assessment แห่งสหราชอาณาจักร (UK) ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำหลายแห่งในสหราชอาณาจักร สิงคโปร์ โปร์แลนด์ สเปน มาเลเซีย ฯลฯ เปิดรับคะแนน BMAT เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา สถาบันแต่ละที่ก็จะมีเกณฑ์ในการคัดเลือกและเปิดรับไม่เหมือนกัน

ในหลายปีที่ผ่านมา ในประเทศไทยเริ่มเปิดรับคะแนน BMAT เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในรอบ Portfolio (TCAS1) นับเป็นอีกสนามการแข่งขันนอกเหนือจาก กสพท. และมักเรียกสั้นๆว่าหมอรอบ 1 น้องๆ มัธยมตอนปลายต่างให้ความสนใจกันอย่างล้นหลาม นั่นก็เพราะที่ต้องสอบเพียง 2 วิชาเท่านั้น 

“นั่นก็คือ น้องๆ ต้องใช้ข้อสอบ BMAT ควบคู่กับข้อสอบ IELTS ในการยื่นหมอรอบ 1 (รอบ Portfolio)”

สถาบันอุดมศึกษาในไทยที่รับคะแนน BMAT

  • คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะแพทย์ศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร (UK) ที่รับคะแนน BMAT

  • Brighton and Sussex Medical School (A100 Medicine)
  • Imperial College London (A100 Medicine)
  • Keele University (A100 Medicine)
  • Lancaster University (A100 Medicine and Surgery and A104 Medicine & Surgery with a Gateway Year)
  • University of Manchester Medical School (A106 MBChB Medicine and A104 MBChB Medicine)
  • University College London (A100 Medicine)
  • University of Cambridge (A100 Medicine)
  • University of Leeds (A100 Medicine, A101 Gateway Year to Medicine and A200 Dentistry)
  • University of Oxford (A100 Medicine, A101 Graduate Medicine and BC98 Biomedical Sciences)

รูปแบบข้อสอบ BMAT

ข้อสอบ BMAT ถูกออกแบบมาให้ทำในเวลา 2 ชั่วโมง และถูกแบ่งออกเป็น 3 Parts คือ

Part 1. Thinking skills 

ในพาร์ทนี้จะเป็นที่วัดทักษะทั่วไป เช่น ทักษะในการแก้ไขปัญหา หรือทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นข้อสอบปรนัย 32 ข้อ ใช้เวลาทำนาน 60 นาที 

โดยจะเป็นข้อสอบ Problem Solving (Aptitude Test) จำนวน 16 ข้อ และเป็นข้อสอบ Critical Thinking (หรือที่เรียกกันว่า Cri​tical Analysis) จำนวน 16 ข้อ

2. Scientific Knowledge and Applications 

ในพาร์ทนี้จะเป็นข้อสอบที่ครอบคลุมเนื้อหาวิชาการของวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และคณิตศาสตร์ เนื้อหาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นข้อสอบปรนัย 27 ข้อ ใช้เวลาทำนาน 30 นาที 

3. Writing Task 

ในพาร์ทนี้จะเป็นข้อสอบวัดความสามารถในการเลือก พัฒนา หรือจัดการความคิด และการสื่อสารความคิดออกมาด้วยการเขียนอย่างกระชับได้จะความ และมีประสิทธิภาพ

เป็นการเขียนตอบคำถาม 1 ข้อ โดยเลือกจาก 3 ข้อที่โจทย์ให้มา ใช้เวลาทำนาน 30 นาที 

การคิดคะแนน BMAT

  • ส่วนที่ 1–2 คะแนนเต็มอยู่ที่ 9.0

แต่ละข้อมี 1 คะแนน  มีการแบ่งเกณฑ์การให้คะแนนออกเป็นสเกล 1-9 โดยผู้เข้าสอบส่วนใหญ่คะแนนจะอยู่ที่ 5.0 ถึง 6.0 

  • ส่วนที่ 3 (คะแนนเนื้อหา และคะแนนภาษา)

จะมีผู้ตรวจและให้คะแนนสองคน และจะแบ่งการให้คะแนน 2 แบบ 2 ด้าน

ส่วนที่ 1 จะเป็นคะแนนด้านเนื้อหา (สเกล 1-5)

ส่วนที่ 2 จะให้คะแนนด้านการใช้ภาษาอังกฤษ โดยแบ่งเป็นเกณฑ์ (A-E)

เกณฑ์การให้คะแนนด้านเนื้อหา (สเกล 1-5 คะแนน)

  • 1 คะแนน หมายถึง เป็นการเขียนด้วยเนื้อหาที่พอรับได้ แต่ตอบไม่ค่อยตรงคำถาม อาจมีความลังเลหรือไม่ชัดเจน
  • 2 คะแนน หมายถึง เป็นการเขียนที่ค่อนข้างตรงประเด็น แต่อาจมีบางคำหรือบางจุดที่ไม่ชัดเจน
  • 3 คะแนน หมายถึง การเขียนแสดงการตอบคำถามได้พอใช้ตรงกับทุกมุมมองของคำถาม มีการสร้างเหตุผลโต้แย้ง แต่อาจมีจุดบกพร่องด้านการเชื่อมโยงความคิดหรือจุดที่มองข้ามไป
  • 4 คะแนน หมายถึง การเขียนที่มีข้อบกพร่องน้อย ตรงประเด็นทุกมุมมอง มีการใช้สำนวนการโต้แย้งได้ดี ใช้โครงสร้างประโยคแสดงออกถึงความคิดได้อย่างมีเหตุผล
  • 5 คะแนน หมายถึง การเขียนได้ดีเยี่ยมชัดเจนไร้จุดบกพร่อง ตอบตรงประเด็นทุกมุมมอง มีการใช้โครงสร้างประโยคแสดงออกถึงความคิดได้ดีเยี่ยม ชัดเจน โน้มน้าวได้ดี มีจุดกว้างแคบความคิด สังเคราะห์ข้อมูลหรือสรุปได้ดี

Note: โดยส่วนใหญ่คะแนนด้านเนื้อหา เต็ม 5.0 ผู้เข้าสอบมักจะได้คะแนนที่หลากหลายตั้งแต่ 3.0, 3.5, 2.5, 2.0 และ 4.0  

 

เกณฑ์การให้คะแนนด้านการใช้ภาษาอังกฤษ (A-E)

  • Band A หมายถึง การใช้ภาษาอังกฤษได้ดี โดยดูจากการอ่านได้ลื่นไหล โครงสร้างประโยคดี เลือกใช้ศัพท์ดี ไวยากรณ์ใช้ถูกต้องและเหมาะสม การสะกดคำและเครื่องหมายวรรคตอนดี มีข้อผิดพลาดน้อย
  • Band C หมายถึง การใช้ภาษาอังกฤษได้พอใช้ อาจมีจุดอ่อนด้านประสิทธิภาพการใช้ภาษาอังกฤษ โดยดูจาก อ่านได้พอลื่นไหล ไม่อ่านยาก มีการใช้โครงสร้างประโยคง่ายๆ ใช้ศัพท์ระดับกลาง ไม่ง่ายเกินไป ใช้ไวยากรณ์ได้เหมาะสม สะกดคำและใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้พอใช้ มีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง
  • Band E หมายถึง การใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างอ่อน ต้องหลายรอบถึงจะเข้าใจ มีจุดบกพร่องในประโยคหรือย่อหน้า มีการใช้ศัพท์ง่ายๆบ่อย ใช้ไวยากรณ์ผิด มีจุดบกพร่องด้านการสะกดคำและเครื่องหมายวรรคตอน รวมไปถึงจุดบกพร่องที่เห็นได้ใช้

 

Note: เกณฑ์การให้คะแนนด้านภาษา จะรวมเอาคะแนนจากกรรมการทั้ง 2 คน ตัวอย่างเช่น กรรมให้คะแนน AA = A, AC=B, CC=C, CE=D, EE=E แปลงออกมาเป็น A, B, C, D, E ตามลำดับ

ตารางรอบในการ “สอบ BMAT”

สำหรับรอบสอบ BMAT นั้นตามปกติจะเปิด 3 รอบต่อปี โดยน้องสามารถเลือกสอบได้เพียง 1 รอบต่อปีเท่านั้น โดยปกติอยู่ช่วงประมาณ กันยายน ตุลาคม หรือพฤศจิกายน

ทั้งนี้น้องๆ นักเรียนควรตรวจสอบเงื่อนไขของแต่ละคณะก่อนนะคะ ว่าแต่ละคณะของแต่ละมหาวิทยาลันนั้นรับผลคะแนนจากรอบไหน (โดยมากจะรับรอบเดือนกันยายน)

ค่าใช้จ่ายในการ “สอบ BMAT”

ค่าสอบจะตัดผ่านบัตรเครดิตอยู่ที่ £83 (ข้อมูลปี 2020) หรือที่ประมาณ 3,200 บาทขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยน 

Note: ถ้าหากว่าสมัครสอบไม่ทันจะมีรอบ Late Registration ซึ่งเก็บเงินค่าธรรมเนียมแพงกว่าค่ะ

การสมัคร “สอบ BMAT”

สมัครที่ 

www.metritests.com

อ้างอิงศูนย์รับสมัคร

ท้ายสุดนี้ อย่าลืมลองแวะดู EFL Learning Centre มีคอร์สสอนภาษาอังกฤษให้เลือกหลากหลายสำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัยเลยค่ะ แน่นอนว่าเรามีติวภาษาอังกฤษสำหรับน้องๆ ที่เตรียมสอบ IELTS และ BMAT ที่ต้องสอบเป็นภาษาอังกฤษด้วยนะ

หากยังไม่มั่นใจว่าน้องๆ ควรจะเลือกคอร์สเรียนภาษาอังกฤษแบบไหนดี เพื่อให้เหมาะกับตัวเราเองมากที่สุด สามารถติดต่อสถาบันได้ตามช่องทางต่างๆ เพื่อปรึกษาวางแผนการเรียนได้ตลอดเวลา เรายินดีพร้อมให้คำปรึกษาและบริการค่ะ

Copyright © EFL Learning Centre 2005 – 2024 All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Skip to content