วันที่ 9 กรกฎาคม 2566 ที่ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่เครือข่ายการศึกษา วัฒนธรรม และ เยาวชนพลเมืองล้านนา สภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองเชียงใหม่ จัดเสวนาขับเคลื่อนการศึกษา
เพื่อพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้เป็น The Capital City of Care and Well-Being โดยยื่นเรื่องผ่าน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชียงใหม่ เขต 3 พรรคก้าวไกล นายณัฐพล โตวิจักษ์ชัยกุล โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ดร.ณรงค์ ตนานุวัฒน์ กงสุลกิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม , อ.อภิชา อินสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ อ.มานิตย์ ขันธสีมา ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองเชียงใหม่ดร.วิไลวรรณ วรรณโชติผาเวช เลขาธิการสมาคมสถานศึกษาเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ / ประธานคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนนอกระบบจังหวัดเชียงใหม่
เพื่อพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้เป็น The Capital City of Care and Well-Being โดยยื่นเรื่องผ่าน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชียงใหม่ เขต 3 พรรคก้าวไกล นายณัฐพล โตวิจักษ์ชัยกุล โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ดร.ณรงค์ ตนานุวัฒน์ กงสุลกิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม , อ.อภิชา อินสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ อ.มานิตย์ ขันธสีมา ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองเชียงใหม่ดร.วิไลวรรณ วรรณโชติผาเวช เลขาธิการสมาคมสถานศึกษาเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ / ประธานคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนนอกระบบจังหวัดเชียงใหม่
ดร.ณรงค์ ตนานุวัฒน์ กงสุลกิตติมศักดิ์ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ได้เสนอภาพศักยภาพของเชียงใหม่ อันประกอบไปด้วยทุนที่มั่นคง 3 ประการ ซึ่งเป็นปัจจัยพร้อมในการสร้างจุดยืนใหม่ในการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองหลวงแห่ง “ความใส่ใจ” และ “ความอยู่ดีกินดี” หนึ่งในทุนที่สำคัญอย่างยิ่งได้แก่ ทุนมนุษย์ ซึ่งเชียงใหม่มีอัตลักษณ์เฉพาะที่น่าหลงใหลและมีคุณค่า เสนอให้มีการนำมาผสานกับการนำเสนอ Soft Power ในรูปแบบสื่อภาพยนตร์ ดนตรี และ ความสวยงามต่างๆของจังหวัดเชียงใหม่
อ.อภิชา อินสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ ได้ฉายภาพและชวนเยาวชนรุ่นใหม่ให้มาร่วมกันสร้างการศึกษาในฝันร่วมกัน โดยต้องไม่ลืมความเชื่อมโยงกับเพื่อนนานาชาติเข้าด้วยกันจะทำให้ศักยภาพของล้านนามีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้นและเป็นการสืบทอดศิลปะวัฒนธรรมผ่านสายตาชาวโลก และ สร้างเม็ดเงินเข้าประเทศและท้องถิ่นได้มากขึ้น
ดร.วิไลวรรณ วรรณโชติผาเวช ได้เสนอความแตกต่างของเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเมืองท่องเที่ยว ที่มี Positioning แตกต่างจากเมืองอื่นๆ ได้แก่การเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีจุดขายเป็นด้าน Education เป็นจุดขับเคลื่อน พร้อมตั้งประเด็นว่า อยากชวนกันมองภาพว่าเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งการศึกษาและนำพาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนเข้ามาในประเทศ เช่นเดียวกับ Oxford หรือ Manchester ที่ขับเคลื่อนเมืองให้ยิ่งใหญ่ด้วย High Standard Education
นอกจากนี้ ดร.วิไลวรรณ ยังได้ส่งผ่านข้อเสนอแนวทางการพัฒนาดังต่อไปนี้ Education นำเศรษฐกิจ Chiang Mai
- สร้าง Chiang Mai = High Standard Education City
- เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ:
2.1) จัดการศึกษาในระบบสามัญ – international credit bank
2.2) จัดการศึกษาเอกชนนอกระบบ – หลักสูตรระยะสั้นแบบอัธยาศัย/international credit bank เชื่อมโยงทุกหลักสูตร / Soft Power มวยไทย/อาหารไทย/ศิลปะดนตรีกีฬา/ภาษา / ไม่รบกวนงบประมาณภาครัฐ แต่ยังขาดการสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3) จัดการศึกษาอาชีวศึกษา – หลักสูตรสร้างอาชีพขั้นกลาง
2.4) จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา – หลักสูตรระยะยาวขั้นสูง/international credit bank
2.5) จัดการศึกษาลดความเหลื่อมล้ำโดยรัฐ+สกร(กศน.เดิม) - กำหนดประเภทวีซ่าใหม่ – EduTourism /
3.1) ส่งเสริมการท่องเที่ยวและคอร์สระยะสั้น
กระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มความมั่นคงให้กับประเทศ
4.กระจายอำนาจให้เชียงใหม่ สามารถบริหารจัดการงบประมาณการศึกษาและเศรษฐกิจผ่าน EduTourism วีซ่าได้ - ตั้งสภาการศึกษาเพื่อการพัฒนาเมืองเชียงใหม่
6.เชียงใหม่ = เมืองปลอดคอรัปชั่น และ อากาศสะอาด เปลี่ยนวิกฤต
เป็นโอกาสดึงงานวิจัยอากาศสะอาดจากทั่วโลกมาในเชียงใหม่
7.ความไม่เท่าเทียมเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วยว่า ที่เจ้าสัวปลูกกล้วย เสียภาษีอัตราเกษตรกร แต่ที่โรงเรียนเอกชนนอกระบบ สอนอาชีพ เติมเต็ม soft skills กลับเสียภาษีอัตรา 100%
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อทำให้เชียงใหม่กลายเป็นเมืองที่มีพลังดึงดูดคนเก่งเข้ามาทำงานในเชียงใหม่ และ สร้างงานในระดับโลกได้ในเชียงใหม่ ให้ลูกหลานเชียงใหม่ที่เก่งๆกลับมาทำงานและสร้างพลังให้กับเมืองได้