ปี 2020 มาพร้อม New TOEIC พร้อมรูปแบบข้อสอบบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง และก็มีบางอย่างก็ยังคงเดิม มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง? จะสอบครั้งแรกต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง? เตรียมตัวยังไงให้ทำคะแนนได้ดี มาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันเลย!

ข้อสอบโทอิค (TOEIC) คืออะไร?

การสอบโทอิค – TOEIC หรือที่ย่อมาจาก Test of English for International Communication คือ การสอบวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษโดยทั่วไป สำหรับคนทำงานในตลาดแรงงานโดยเฉพาะ ผู้ที่สอบอาจจะเป็นคนที่กำลังมองหางาน หรือนักศึกษาที่กำลังจะก้าวเข้าตลาดงาน

ตั้งแต่ในอดีตข้อสอบ TOEIC นี้จะวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการอ่านและฟัง (Reading & Listening) เป็นหลัก แต่ภายหลังได้มีการทำข้อสอบที่วัดการพูดและเขียน (Speaking & Writing) ออกมาด้วย แต่ส่วนใหญ่ก็ยังยึดผลการสอบของ Reading & Listening เป็นหลัก

ทำไมต้องสอบ TOEIC เอาผลคะแนนโทอิคไปทำอะไรได้?

ในประเทศไทย คะแนน TOEIC มักเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่บริษัทเอกชนมักจะระบุไว้ในการประกาศหาบุคคลเข้าทำงานในองค์กร โดยเฉพาะในบริษัทข้ามชาติ และในสายงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการบิน การท่องเที่ยวและโรงแรม ผลคะแนนที่ได้สามารถนำไปเป็นหลักฐานให้เห็นว่าความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของเรานั้นอยู่ในระดับประมาณใด

ปัจจุบันบางมหาวิทยาลัยบังคับให้นักศึกษาที่กำลังจะเป็นบัณฑิตทุกคนยื่นคะแนน TOEIC ก่อนรับใบจบ โดยที่คะแนนจะต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้เพื่อให้นิสิตนักศึกษาที่จบออกไปมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษติดต่อออกไปสู่ตลาดงาน ทำให้เดี๋ยวนี้บางคนต้องสอบ TOEIC กันตั้งแต่ยังเรียนไม่จบเลยทีเดียว

ข้อสอบ TOEIC มีกี่ข้อ? สอบอะไรบ้าง?

อย่างที่ได้บอกไปแล้วข้างต้นว่าการ สอบ TOEIC แบ่งเป็น 2 ทักษะคือ Listening Comprehension (ทักษะการฟัง) และ Reading Comprehension (ทักษะการอ่าน) 

  • ข้อสอบมีทั้งหมด 200 ข้อเป็นแบบ multiple choices (ปรนัย)
  • เวลาในการทำข้อสอบ 2 ชั่วโมง
  • คะแนนเต็มอยู่ที่ 990 คะแนน

และอย่างที่หลายคนอาจจะทราบดีอยู่แล้วว่าข้อสอบ TOEIC ในปี 2020 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้าง โดยความแตกต่างของ TOEIC 2020 เรานำมาเปรียบเทียบกับข้อสอบเก่าให้ดูในชาร์ตข้างล่างนี้แล้ว ไปดูกันเลย!

จะเห็นว่าความแตกต่างนั้นจะอยู่ตรงที่จำนวนข้อและรูปแบบเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น การเตรียมตัวอ่านหนังสือเพื่อไปสอบจึงเรียกได้ว่าแทบไม่ต่างจากเดิม

ระดับของผลคะแนนโทอิค (TOEIC)

ผลคะแนนเป็นตัวเลขตั้งแต่ 10-990 ซึ่งอาจใช้แปรผลเป็นระดับทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษของเจ้าของคะแนนได้ โดยได้มีการแบ่งช่วงคะแนนออกเป็นระดับดังนี้

International Professional Proficiency: สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสถานการณ์

Working Proficiency Plus: สามารถสื่อสารเกี่ยวกับการทำงานส่วนใหญ่ได้ ด้วยการใช้ภาษาที่ยอมรับได้และมีประสิทธิภาพ แต่ไม่ครอบคลุมทุกสถานการณ์

Limited Working Proficiency: สามารถใช้ภาษาสื่อสารได้ในบริบททั่วไป แต่สามารถใช้ภาษาทำงานได้อย่างจำกัด

Elementary Proficiency Plus: สามารถเริ่มบนสนทนาและโต้ตอบการสนทนาแบบเห็นหน้าได้ สามารถใช้ภาษาสื่อสารในบริบททั่วไปอย่างจำกัด

Elementary Proficiency: สามารถใช้ภาษาสื่อสารได้ แต่ไม่มีประสิทธิภาพนัก สามารถโต้ตอบการสนทนาแบบเห็นหน้าได้ในหัวข้อที่คุ้นเคย

Basic Elementary: สามารถสื่อสารในระดับที่พอเข้าใจเอาตัวรอดได้ และเมื่อจำเป็น

ค่าสมัครสอบ TOEIC

1,800 บาท

โดยมีค่าส่งไปรษณีย์เพิ่มเติมหากจะให้ผลคะแนนส่งถึงบ้าน (อ่านวิธีการชำระและรายละเอียดอื่นใน section ถัดไป)

วิธีสมัครสอบ TOEIC และการจองวันสอบ

1. ดูว่าเราสะดวกสอบที่ไหนก่อน โดยที่ TOEIC ให้สอบได้ 2 สนามสอบคือ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่

2. สำรองที่นั่งสอบ โดยที่ต้องทำการสำรองล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน เลือกได้ว่าจะ Walk-in หรือ โทรไปสมัครสอบก็ได้

  • ศูนย์สอบกรุงเทพ Bangkok Main Office: Center for Professional Assessment (Thailand) Suite 1907, BB Building ชั้น 19 เลขที่ 54 ถนนอโศก สุขุมวิท 21 โทร 0-2260-7061, 0-2259-3990
  • ศูนย์สอบเชียงใหม่ Northern Region Branch Office: Center for Professional Assessment (Thailand) อาคารนวรัตน์ ชั้น 3 ถนนแก้วนวรัตน์ ซอย 3 โทร 053-241273

3. เลือกเวลาที่จะสอบ ซึ่งจะมีให้สอบได้ทุกวัน ตั้งแต่จันทร์-เสาร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) วันละ 2 รอบด้วยกันคือ รอบเช้าเวลา 9.00 น. กับ รอบบ่ายเวลา 13.00 น.

4. ชำระเงินในวันที่ไปสอบ โดยปัจจุบันการสอบ TOEIC มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,800 บาท ถ้าต้องการทราบคะแนนทางไปรษณีย์จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก 50 บาท

5. นอกเหนือจากนี้อย่าลืมเตรียมบัตรประชาชนไปเป็นหลักฐานแสดงตนด้วย (ห้ามหมดอายุ) หรืออาจใช้พาสปอร์ต หรือใบขับขี่ (แบบอิเล็กโทรนิกส์) แทนได้

6. ในกรณีต้องการเลื่อนวันสอบ สามารถทำได้ แต่ต้องโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ล่วงหน้าหนึ่งวัน ถ้าไม่โทรแจ้งแล้วหายไปเฉยๆ อาจมีค่าปรับเกิดขึ้นในการสอบครั้งต่อไป

7. การรับผลการสอบ TOEIC สามารถติดต่อขอโดยตรงได้ที่ศูนย์สอบ จะมีข้อแตกต่างตรงที่ศูนย์สอบกรุงเทพฯ ผลคะแนนจะออก 1 วันหลังการสอบ แต่ที่เชียงใหม่ผลคะแนนจะออก 3 วันหลังการสอบ

8. เลือกได้ว่าจะรับคะแนนด้วยตัวเองได้ที่ศูนย์ระหว่าง 10:00 – 16:30 น. วันจันทร์-ศุกร์ หรือต้องการให้ศูนย์สอบส่งผลการสอบทางไปรษณีย์ (จะต้องเสียเงินค่าไปรษณีย์ดังที่ได้บอกไปข้างต้น)

9. ในวันสอบนั้นอย่าลืมแต่งกายสุภาพ ห้ามนำอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดเข้าไปในห้องสอบ จะปิดเครื่องแล้วก็ไม่ได้ ไม่สามารถนำกระเป๋าใดๆ ติดตัวไปได้เช่นกัน เรียกได้ว่าต้องเข้าห้องสอบแบบตัวเปล่านั่นเอง

เทคนิคการเตรียมตัวสอบ TOEIC – Listening and Reading ต้องทำยังไง

1. ประเมินและรู้ระดับภาษาของตัวเองก่อน

ก่อนที่จะเริ่มต้นติวภาษาอังกฤษ หรืออ่านหนังสือเพื่อพัฒนาทักษะของตัวเอง ต้องประเมินตัวเองและรู้ว่าตัวเองอยู่ในระดับทักษะระดับประมาณใดก่อน การประเมินตัวเองนั้นไม่ได้ทำไปเพื่อให้รู้สึกท้อแท้ หากที่สุดแล้วว่าพบว่าตัวเองมีทักษะอยู่น้อย แต่ทำไปเพื่อที่จะได้เริ่มต้นพัฒนาได้อย่างถูกจุด รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง จะเอาแต่รู้แต่แนวข้อสอบอย่างเดียว โดยที่ไม่สำรวจจุดแข็งจุดอ่อนของตัวเองเลยคงจะทำให้พัฒนาตัวเองได้ยาก

2. ฝึกทำข้อสอบย้อนหลัง

อย่างที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ว่า ‘Practice makes perfect’ การฝึกทำข้อสอบจะทำให้เราสามารถคุ้นชินกับการทำข้อสอบ TOEIC มากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งได้เรียนรู้ข้อที่ผิดพลาดไปด้วยในทุกครั้งที่มาดูเฉลยตอนตรวจคำตอบ กล่าวคือ ได้เรียนรู้จากการลงมือทำจริง และเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตัวเองนั่นเอง เพื่อให้สมจริงที่สุด ตอนฝึกทำอย่าลืมจับเวลาให้เหมือนเวลาจริงในการสอบหล่ะ ไม่ได้มีแค่พาร์ทที่เป็น Reading นะที่จะฝึกได้ พาร์ทที่เป็น Listening ก็ฝึกได้ไม่ต่างกันเลย มีข้อสอบแบบ Listening ให้ฝึกได้ฟรีใน Youtube เยอะมาก

ตัวอย่างช่องรวมข้อสอบพาร์ทฟัง (Listening) ใน TOEIC 

หรือถ้าใครที่เบื่อจะฟังเสียงบทสนทนาจากข้อสอบ อยากจะฝึกฟังอะไรที่น่าสนใจนอกเหนือไปจากแค่ข้อสอบ แถมยังให้ความบันเทิงได้มากกว่า จะเปลี่ยนมาหาซีรี่ส์ดูก็ได้นะ ซีรี่ส์ที่มีบทสนทนาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและการทำธุรกิจอย่าง “The Office” หรือ “House of Card” ก็ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว

3. ฝึกการหาคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุด > คำตอบที่ถูกที่สุด

ให้ฝึกหาคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้และเกี่ยวข้องมากที่สุดในสถานการณ์ (ของคำถามในข้อสอบ) ไม่ใช้หาคำตอบที่ถูกที่สุด บางครั้งคำตอบอาจจะไม่มีข้อไหนที่ผิด ข้อใดๆ ก็อาจจะเป็นประโยคหมดได้ แต่ข้อที่เกี่ยวข้องกับโจทย์มากที่สุดจะต้องมีข้อเดียว และเราต้องหาให้เจอ 

ตัวอย่างเช่น เวลาโจทย์ให้บทสนทนาหรือ passage มา แล้วโยนคำถามมากว้างๆ ว่า From the passage, we can infer that _______? ซึ่ง infer หมายถึงการอนุมานหรือสรุปเอาจากข้อความหรือบทสนทนาที่โจทย์ให้มา ข้อสอบที่ถามลักษณะนี้ มักจะให้โจทย์ที่มีประโยคที่ถูกต้องทั้งหมดนั่นแหละ แต่ข้อที่เกี่ยวข้องจริงๆ จะมีเพียงข้อเดียว 

เวลาทำข้อสอบต้องอย่าเผลอเอาประโยคเหล่านั้นมาคิดเป็นจริงเป็นจริงตามสถานการณ์จริงจะทำให้เสียเวลา ให้คิดตามสถานการณ์ของข้อสอบเท่านั้น

4. ระหว่างสับสนคำศัพท์ที่ออกเสียงเหมือน/คล้ายคลึงกัน

ให้ระวังเป็นพิเศษกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ออกเสียงเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน แต่ความหมายแตกต่างกัน อาจจะทำให้เราสับสนแล้วตอบผิดได้ ตัวอย่างเช่น คำว่า effect กับ affect ดูเหมือนกันจะเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน ความหมายแตกต่างกัน ใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน affect ใช้ในความหมายถึงว่ามีอิทธิพลกับบางสิ่ง แต่ effect จะหมายถึงเป็นผลทำให้บางสิ่งเกิดขึ้น เห็นไหมว่าน่าสับสนมาก เพราะนอกจากจะออกเสียงคล้ายกัน ความหมายก็สุดแสนจะใกล้เคียงกันไปอีก ต้องระวังในจุดนี้ให้ได้

5. ท่องศัพท์ ท่องศัพท์ ท่องศัพท์

การรู้ศัพท์เยอะอาจจะไม่ได้เป็นยาสูตรครอบจักรวาลหรอก บางครั้งรู้ศัพท์เยอะอย่างเดียวก็ไม่ได้ช่วยทำให้สอบได้คะแนนดีซะทีเดียว เพราะจะทำข้อสอบได้ดีต้องมีหลายทักษะหลายส่วนมากผนวกกัน แต่การสะสมคลังคำศัพท์และท่องศัพท์นั้นนับว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย ทำได้ทุกวันทุกที่ทุกเวลา ไม่ต้องใช้เวลาเยอะ เพียงมีชีทศัพท์แล้วปิดด้านที่เป็นความหมายไว้ แล้วนั่งไล่สายตาไปทีละตัวแล้วพูดความหมายของคำออกในใจ เป็นวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำได้ตอนนั่งรถประจำทาง ช่วงเวลา 5 นาทีก่อนนอน สะสมไปเรื่อยๆ ทุกวัน รู้ตัวอีกทีก็เพิ่มพูนคลังคำศัพท์ได้เยอะแยะในเวลาไม่นานเลย 

เวลาทำข้อสอบแล้วมีคำศัพท์ที่เราไม่รู้ 1 คำ แต่ถ้าเรามีคลังคำศัพท์ในหัวเยอะบังเอิญรู้ความหมายของอีก 3 คำที่เหลือที่ปรากฏอยู่ในตัวเลือก เราก็ใช้คำที่เรารู้มาช่วยสรุปหาคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดออกมา กล่าวคือ การรู้ศัพท์เยอะ อาจมีส่วนช่วยให้เราสามารถตัดช้อยส์ และเลือกข้อที่ถูกต้องได้เลยหล่ะ

6. ฝึกฟังโจทย์ให้ดี

ตอนทำข้อสอบพาร์ทการฟังนั้น จะมีผู้อ่านโจทย์อ่านวิธีทำข้อสอบขึ้นมาก่อนที่จะเปิดเสียงสนทนาให้เราฟัง อย่าละเลยการฟังคำสั่ง ให้มีสมาธิและตั้งใจฟังให้ดี เมื่อผู้อ่านคำสั่งอ่านจบ บทสนทนาของข้อสอบการฟังจะเริ่มขึ้น เสียงผู้พูดก็จะเปลี่ยนไป ซึ่งหมายความว่าตรงนั้นเป็นพาร์ทของข้อสอบแล้ว อาจจะต้องมีส่วนที่เราต้องจดโน้ตรายละเอียดที่ได้จากการฟังจำพวก วัน เวลา สถานที่ ชื่อคน เพราะเผลอเหม่อลอยระหว่างทำข้อสอบเข้าเสียหล่ะ

7. เตรียมตัวรับอุปสรรคในห้องสอบด้วย

หลายคนอาจจะพบกับปัญหาระหว่างทำข้อสอบ เช่น ฟังเสียงข้อสอบพาร์ทการฟังได้ไม่ค่อยชัด เพราะเสียงที่ได้ยินที่ห้องสอบย่อมต้องแตกต่างจากที่เราฝึกซ้อมฟังมากจากคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ดังนั้นอย่าลืมคำนึงถึงจุดนี้ 

อีกปัญหาที่คนเจอบ่อยๆ คือเรื่องอุณหภูมิในห้องสอบที่เย็นเกินไปจนทำให้สมาธิกระเจิดกระเจิง ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก แต่เวลาที่ต้องการสมาธิมากๆ เราก็ควรทำตัวให้อยู่ในอุณหภูมิที่เย็นสบายมากกว่าหนาวสั่นจริงไหม ดังนั้นอย่างลืมเตรียมเสื้อแขนยาวไปใส่ในห้องสอบด้วยนะ

ท้ายสุดนี้ อย่าลืมลองแวะดู EFL Learning Centre มีคอร์สสอนภาษาอังกฤษให้เลือกหลากหลายสำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย

หากยังไม่มั่นใจว่าคุณควรจะเลือกคอร์สเรียนภาษาอังกฤษแบบไหนดี เพื่อให้เหมาะกับตัวคุณเองมากที่สุด สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางต่างๆ เพื่อปรึกษาวางแผนการเรียนได้ตลอดเวลา เรายินดีพร้อมให้บริการคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Skip to content