สำหรับหลายๆ คนที่กำลังวางแผนศึกษาต่อ หรือวางแผนไปทำงานในต่างประเทศ แน่นอนว่าต้องผ่านการสมัครสอบวัดระดับทางภาษา เพื่อนำผลการสอบไปประกอบการยื่นเอกสารขอวีซ่า ซึ่งเราอาจจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดีกับการทดสอบ IELTS หรือ TOELF แต่รู้หรือไม่ว่า ยังมีการทดสอบวัดระดับทางภาษาอีกประเภทหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน และสามารถนำผลการสอบไปประกอบการยื่นเอกสารได้เช่นเดียวกัน นั่นก็คือการสอบ PTE นั่นเอง

 

 

การสอบ PTE คืออะไร

 

PTE ย่อมาจาก ‘Pearson Test of English’ เป็นการสอบวัดระดับทางภาษาอังกฤษอีกหนึ่งตัว สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อต่างประเทศ หรือย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก โดยการพัฒนาขึ้นของ University of London ภายใต้การอนุมัติและการรับรองจาก GMAC (Graduate Management Admission Council) ทำให้มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับจากสถาบันการศึกษามากกว่า 3000 แห่ง สามารถยื่นขอวีซ่าครอบคลุมทั้งประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักร และเนื่องมาจากความสะดวกและความรวดเร็วในการแจ้งผลสอบ จึงทำให้ การสอบ PTE ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในปัจจุบัน 

 

การสอบ PTE มีกี่ประเภท

 

โดยการสอบ PTE จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน คือ 

 

  1. PTE Academic ที่เป็นการสอบวัดผลภาษาอังกฤษแบบออนไลน์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่มีผู้คุมสอบ ผู้เข้าสอบจะต้องมีอายุอย่างน้อย 16 ปีขึ้นไป ซึ่งจะแบบทดสอบจะเน้นไปในเชิงวิชาการ โดยใช้เวลาในการสอบ 2 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น 
  1. PTE Home เป็นการสอบภาษาอังกฤษแบบออนไลน์ที่ศูนย์ทดสอบ PTE โดยจะเน้นไปที่ทักษะด้านการฟังและการพูด สามารถจองล่วงหน้าได้ภายใน 24 ชั่วโมง และประกาศผลสอบภายใน 48 ชั่วโมงหลังสอบเสร็จ ผลสอบที่ได้ จะสามารถนำไปยื่นขอวีซ่าครอบครัวหรือวีซ่าสำหรับการย้ายถิ่นฐาน ตามความสามารถทางภาษาทั้ง 3 ระดับจากสหภาพยุโรปคือ A1, A2 และ B1

 

 

ข้อสอบ PTE แบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง

 

การสอบ PTE จะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ส่วน ดังนี้

 

 

การสอบ PTE ต่างจาก IELTS อย่างไร

 

ถึงแม้จะเป็นการสอบวัดระดับทางภาษาเหมือนกัน แต่การสอบ PTE จะมีความแตกต่างจากการสอบ IELTS อยู่ดังนี้

 

โดยบ่อยครั้งมักจะมีคำถามว่า ข้อสอบ PTE กับข้อสอบ IELTS อันไหนยากกว่ากัน? ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ข้อสอบทั้ง 2 ประเภทมีเนื้อหาที่แตกต่างกัน หากอยากเปรียบเทียบเบื้องต้น ก็อาจจะลองเข้าไปดูตัวอย่างข้อสอบในเว็บไซต์ หรือสามารถซื้อหนังสือมาเพื่อลองทำข้อสอบเพื่อเปรียบเทียบกันดูก่อนได้

 

สามารถใช้คะแนนสอบ PTE ยื่นอะไรได้บ้าง

 

คะแนนสอบ PTE Academic สามารถใช้ประกอบเอกสารเพื่อยื่นขอวีซ่าสำหรับการศึกษาต่อและการอยู่อาศัย โดยเป็นที่ยอมรับจากสถาบันชั้นนำมากกว่า 3000 แห่งทั่วโลก ครอบคลุมถึงประเทศนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และรวมไปถึงมหาวิทยาลัยชื่อดังในสหราชอาณาจักรอย่าง มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด, Harvard Business school และ Yale เป็นต้น

 

 

วิธีการสมัครและค่าใช้จ่ายในการสอบ PTE

 

วิธีการสมัครสอบ PTE 

 

สามารถทำได้โดยเข้าไปสมัครจากทางหน้าเว็บไซต์ Pearson PTE จากนั้นลงทะเบียนสร้างบัญชีผู้ใช้ และเลือกสนามสอบ โดยในประเทศไทยจะมีสนามสอบที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น สำหรับการสอบ PTE Academic ที่สถาบันจะมีรอบการสอบ 2 วัน/สัปดาห์ และในแต่ละวันจะมีรอบให้เลือก 1-3 รอบ และหากใครไม่สะดวก สามารถสมัครสอบแบบ PTE Academic online ผ่านทางออนไลน์ได้อีกด้วย เมื่อสอบวัดผลเสร็จ จะได้รับผลสอบภายใน 48 ชั่วโมง และผลสอบจะมีอายุ 2 ปี 

 

ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ 

 

หากเป็น PTE Academic ไม่ว่าจะเป็นการสอบที่สถาบันหรือออนไลน์ จะมีราคาเดียวอยู่ที่ $200 หรือประมาณ 6880 บาทไทย แต่ถ้าเป็นประเภท PTE Home จะอยู่ที่ $175 หรือประมาณ 6025 บาทไทย

 

รู้รายละเอียดเกี่ยวกับการสอบ PTE กันไปแล้ว ก็ได้เวลาเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบกันล่ะ แต่ถ้าใครไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ก็สามารถหาซื้อหนังสือเตรียมสอบ PTE มาลองฝึกทำข้อสอบกันได้ แต่ถ้าจะให้ดีแบบที่สอบครั้งเดียวผ่านฉลุย! แนะนำว่าให้ลองหาสถาบันสอนภาษาอังกฤษที่น่าเชื่อถือ มาเป็นตัวช่วยในการเตรียมความพร้อมจะดีที่สุด

 

ท้ายสุดนี้ อย่าลืมลองแวะดูคอร์ส IELTS จากเรา หรือคอร์สเรียนอื่นๆ ตามที่เหมาะสมกับการเตรียมตัวสอบของคุณ ที่ EFL มีคอร์สสอนภาษาอังกฤษให้เลือกหลากหลายสำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย ทุกการเตรียมสอบวัดระดับ หรือศึกษาต่อ หากยังไม่มั่นใจว่าคุณควรจะเลือกคอร์สเรียนภาษาอังกฤษแบบไหนดี เพื่อให้เหมาะกับตัวคุณเองมากที่สุด สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางต่างๆ เพื่อปรึกษาวางแผนการเรียนได้ตลอดเวลา เรายินดีพร้อมให้บริการคุณ

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Skip to content