ปัจจัยที่ทำให้ลูกเราเก่ง!

การเรียนรู้ของลูกน้อยเริ่มได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลกล่าวว่า การที่คนเราจะมีสมองดีหรือมีความเฉลียวฉลาดมีปัจจัยที่มาเกี่ยวข้องหลายประการ ปัจจัยที่สำคัญมี 3 ประการ คือ

  1. กรรมพันธุ์
  2. อาหารการกินของแม่ขณะตั้งครรภ์และของลูกภายหลังคลอด
  3. สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็กทั้งขณะที่อยู่ในท้องและภายหลังคลอด

คุณหมอวิทยายังกล่าวอีกว่า เนื้อสมองและเส้นใยประสาทที่เชื่อมโยงกับสมองและเชื่อมโยงกันเองเกิดเป็นข่ายใยเส้นประสาทอย่างมากและรวดเร็วเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ตั้งแต่ลูกน้อยมีอายุประมาณ 8 สัปดาห์ เรื่อยไปจนถึงคลอดออกมาแล้วมีอายุ 2 ขวบ หลังจากนั้นพัฒนาการของสมองก็จะลดลงทีละน้อย ดังนั้นช่วงทองที่ควรจะกระตุ้นพัฒนาลูกน้อยจึงควรเป็นช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้นจึงมีหลายคนกล่าวว่าหากเรารอให้ลูกเราจะเข้าโรงเรียนตามเกณฑ์คือ 5 ขวบ ก็อาจสายเสียแล้ว เพราะเราอาจไม่ได้ทำอะไรที่ช่วยการเรียนรู้ที่เหมาะสมในช่วง 8 สัปดาห์ – 5 ขวบนี้เลย

อยากให้ลูกเก่งภาษา ต้องเริ่มต้นอย่างไร?

การเริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์ ก็คงหนีไม่พ้นต้องเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ ที่สามารถสร้างปัจจัยและโอกาสให้ลูกน้อยได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง

  1. การปรับอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ คุณหมอวิทยากล่าวว่า จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่าคุณแม่ที่อารมณ์ดีอยู่เสมอจะทำให้ร่างกายมีการหลั่งสารแห่งความสุขที่เรียกว่า เอนดอร์ฟิน (endorphin) ออกมาผ่านไปทางสายสะดือไปยังลูกทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีทั้งสมอง (IQ) และอารมณ์ (EQ) ในทางตรงกันข้ามคุณแม่ที่มีอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความเครียดที่เรียกว่า อะดรีนาลิน (adrenalin) ออกมาผ่านไปยังลูก ผลดังกล่าวจะทำให้ลูกคลอดออกมาเด็กงอแง เลี้ยงยาก พัฒนาการช้า ฟังดูแล้วจะว่าทำได้ง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เพราะบางคนไม่ใช่คนที่จะปล่อยวางอะไรได้ง่ายๆ หรือเป็นคนเครียดตลอดเวลา ถ้าต้องมาปรับอารมณ์ให้ดี อาจจะเครียดจากการปรับอารมณ์หรือเปล่าผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

2. พูดคุยกับลูก คุณหมอวิทยากล่าวว่า การพูดคุยกับลูกในครรภ์บ่อยๆ

จะช่วยให้ระบบประสาทและสมองที่ควบคุมการได้ยินมีพัฒนาการที่ดีและเตรียมพร้อมสำหรับการได้ยินหลังคลอด คุณแม่ควรพูดกับลูกบ่อยๆ ด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล ประโยคซ้ำๆ เพื่อให้ลูกคุ้นเคยอย่าไปเล่าเรื่องทุกข์ใจ เช่น เป็นหนี้เขาอยู่ หรือส่งแชร์ไม่ทัน ให้ลูกฟังนะ เพราะเดี๋ยวลูกจะเครียดเสียตั้งแต่อยู่ในท้อง ฝึกพูดภาษาอังกฤษดีๆ สำเนียงดี พูดเพราะๆน่ารักๆในช่วงนี้คือดีมาก มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ไว้ใน The New York Times ว่า “ Language Lessons start in the womb”

การพูดคุยกับลูกนี้สามารถเริ่มพูดเป็นภาษาอังกฤษไปได้ตั้งแต่ตอนลูกยังอยู่ในท้องได้เลย และยังเป็นการซ้อมการใช้ภาษาอังกฤษของพ่อกับแม่ด้วย การที่คุณพ่อคุณแม่ฝึกฝนด้วยตนเอง หรือไป Take Course ภาษาอังกฤษ ฝึกพูดภาษาอังกฤษตั้งแต่ตอนนี้ก็ถือเป็นการที่ทำให้การฝึกฝนของคุณพ่อคุณแม่ส่งต่อไปถึงลูกได้ แล้วยังเป็นการเตรียมพร้อมภาษาอังกฤษก่อนที่จะพบหน้าลูกน้อยเมื่อคลอดเขาอีกด้วย

หมวดคำศัพท์พื้นฐานที่ควรสอน

หมวดคำศัพท์เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว จำง่าย และได้ใช้บ่อยๆ ดังนี้
  • ตัวเลข (numbers) 1-100
  • สี (colours) black, white, yellow, purple, blue, orange, red
  • คำคุณศัพท์ (adjectives) big, small, tall, short, happy, sad
  • ร่างกาย (the body) head, eyes, mouth, arm, hand, leg, foot
  • ของเล่น / เสื้อผ้า / สัตว์ชนิดต่างๆ / อาหาร
หมวดคำถามในชีวิตประจำวัน
หมวดโครงสร้างทางภาษาทีเหมาะสม
หมวดเพลงและนิทาน
หมวด Playtime
หมวด My Family Culture

สิ่งที่สำคัญที่สุดอยู่ที่คุณพ่อคุณแม่ระมัดระวังในการออกเสียง (Pronunciation) ที่ถูกต้องไม่ว่าจะเป็น British หรือ American หรือ Australian accent ก็ไม่มีปัญหา แต่ที่สำคัญคือออกเสียง Phonics ให้ถูกต้องเป็นพอ เพราะทักษะแรกของการเรียนรู้ของลูกน้อยคือทักษะการฟัง (Listening skill) คอร์สอบรมเฉพาะสำหรับคุณพ่อคุณแม่ หรือ Nanny ที่ต้องการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องตามหลักการจะช่วยให้ระบบประสาทและสมองที่ควบคุมการได้ยินมีพัฒนาการที่ดีและเตรียมพร้อมสำหรับการได้ยินหลังคลอด ดังนี้

แถมฟรี: หนังสือ English Moms, Dads, & Me

รับหนังสือฟรี หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

เวลาทำการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08:30 – 19:00
เวลาทำการ เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 08:30 – 17:30

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Skip to content